โครงการพิเศษที่จัดเพื่อเด็ก
พี่ชวนน้องอ่านเขียน

 

ความเป็นมา
ตั้งแต่ปีแรก ๆ ที่คณะภราดาลาซาลเปิดรับนักเรียนประจำของ โรงเรียน เราได้รับนักเรียนเด็กยากจน
หรือกำพร้ากลุ่มหนึ่งมาเลี้ยงดูโดยให้อาศัยอยู่ กับแผนกนักเรียนประจำ
นักเรียนที่อยู่กับนักเรียนประจำกลุ่มนี้ได้สร้างปัญหาขึ้นเป็นประจำ เป็นต้นการขโมยของ
หรือการแสดงพฤติกรรม ก้าวร้าว จึงเกิดความคิดว่าควรจะเอาใจใส่ดูแลเด็กเหล่านี้เป็นพิเศษ
โดยแยกนักเรียนให้อยู่ต่างหากมีการดูแลพวกเขาอย่างใกล้ชิดและให้ความอบอุ่นตามความเหมาะสม
นอกจากนี้คณะภราดาได้สังเกตว่าในอำเภอเมืองนครสวรรค์มีเด็กเร่ร่อนจำนวนหนึ่งเป็นนักเรียน
ที่มีปัญหาทางครอบครัว พ่อแม่แยกทางกัน และไม่มีเวลาสนใจดูแลลูก บางคนไม่เคยไปโรงเรียน
นอนอยู่ตามถนนหรือท้ายรถ ขณะที่นโยบายของมูลนิธิลาซาลนั้นต้องการจะรับใช้สังคมด้วย

การให้ความช่วยเหลือเยาวชนที่ยากจนและให้การศึกษา คณะภราดาจึงได้ รวบรวมเด็กกำพร้ากลุ่มแรกประมาณ
7 คน และเช่าบ้านหลังหนึ่งให้กับ เด็กเหล่านี้พักอาศัยพร้อมเข้ารับการศึกษาในเวลาเดียวกัน

นอกจากนี้คณะภราดาได้สังเกตว่าในอำเภอเมืองนครสวรรค์มีเด็กเร่ร่อนจำนวนหนึ่งเป็นนักเรียนที่มีปัญหาทางครอบครัว พ่อแม่แยกทางกัน และไม่มีเวลาสนใจดูแลลูก บางคนไม่เคยไปโรงเรียน นอนอยู่ตามถนนหรือท้ายรถ ขณะที่นโยบายของมูลนิธิลาซาลนั้นต้องการจะรับใช้สังคมด้วย การให้ความช่วยเหลือเยาวชนที่ยากจนและให้การศึกษา คณะภราดาจึงได้ รวบรวมเด็กกำพร้ากลุ่มแรกประมาณ 7 คน และเช่าบ้านหลังหนึ่งให้กับ เด็กเหล่านี้พักอาศัยพร้อมเข้ารับการศึกษาในเวลาเดียวกัน


โครงการบ้านลาซาลเริ่มขึ้นในเดือนตุลาคม 2528 ต่อมาจำนวน เด็กกำพร้า เด็กที่หนีเรียน และมีปัญหาครอบครัวมีเพิ่มขึ้น จึงต้องมีการเช่าบ้านเพิ่มเป็น 2 หลัง โดยแบ่งเป็นบ้านพักลาซาลชายและหญิง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ โรงเรียนเป็นผู้ออก เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าอาหาร เสื้อผ้า และอุปกรณ์การเรียน ต่าง ๆ เมื่อโรงเรียนเลิกทุกคนต้องมาช่วยกันทำงานบ้าน มีคณะภราดาและครูคอยติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด


ต่อมา พ.ศ. 2530 ได้สร้างบ้านพักหลังหนึ่งชื่อบ้านลาซาล เพื่อให้เด็กเหล่านี้ได้อยู่อาศัยและไม่ต้องเช่าอาศัยที่อื่นอีก สำหรับนักเรียนที่จบ ป.6 ซึ่งเรียนต่อในด้านวิชาการไม่ได้ มูลนิธิลาซาลมีโครงการให้เด็กเหล่านี้ได้ ฝึกฝนเรียนทางด้านวิชาชีพ โดยได้เปิดสอนวิชาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าให้แก่นักเรียน ในบางภาคเรียน ซึ่งจะเรียนเวลาเย็นหลังเลิกเรียน และเสาร์อาทิตย์ เพื่อให้ นักเรียนได้ฝึกฝนเป็นวิชาชีพและประกอบอาชีพได้ในอนาคต


ปัจจุบันมีภราดาวิคตอร์ กิล มูโน๊ส ผู้ดูแลโครงการพิเศษและภราดาวิษณุ พิมพ์นาจ เป็นผู้ช่วยผู้ดูแลโครงการพิเศษ
ครูผู้ดูแลจำนวน 2 คนและนักเรียนจำนวนทั้งหมด 63 คน แบ่งเป็นนักเรียนหญิง 31 คน นักเรียนชาย 33 คน